Breaking News

มรส.จัดเสวนา “เป้าหมายโกโก้สุราษฎร์ฯสู่ตลาดโลก” เกษตรกรหวังภาครัฐช่วยหาแหล่งเงินทุนปลอดดอกเบี้ยเพื่อพัฒนามาตรฐานส่งออก ในขณะงานวิจัยพร้อมผลักดันให้เป็นซอฟเพาเวอร์ตามนโยบายภาครัฐที่จะเข้ามาส่งเสริม

วันที่ 15 กันยายน 2566 ณ ลานสนามหญ้าหน้าสถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดเสวนา ในหัวข้อ “เป้าหมายโกโก้สุราษฎร์ธานีสู่ตลาดโลก (SRU Cocoa Goal) “ หวังยกระดับโกโก้สุราษฎร์ เป็นสินค้าซอฟเพาเวอร์ระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก ตอบสนองนโยบายภาครัฐ โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม เป็นประธานพร้อมร่วมเสวนาเรื่อง “จุดเริ่ม จุดเจ็บ จุดเปลี่ยนของโกโก้สุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายวินัย กล่อมเมือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้วิภาวดี ผศ.ดร.ณัฐธิดา ศรีราชยา ดร.พัชณิยา เอกเพชร ดร.พีระพงศ์ หนูช่วย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผศ.ศราวุธ ทองเนื้อห้า อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และพัฒนา

ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และพัฒนา กล่าวว่า จากนโยบายของอธิการบดีฯ เราก็ขับเคลื่อนเอาผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาแปรรูปให้ได้มาตรฐานมีคุณค่าตามที่ตลอดต้องการทำให้เศรษฐกิจระดับชุมขนเข้มแข็ง อย่างวันนี้เรานำผลิตภัณฑ์โกโก้ซึ่งมีเกษตรกรที่ปลูกจำนวนมากของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแปรรูป สร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพื่อส่งออกได้ในระดับประเทศ ไปสู่ระดับโลกได้

ปัญหาของโกโก้ช่วงแรกโกโก้ได้รับการส่งเสริมจากหลายๆหน่วยงานจนมีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก ผลิตผลออกมาเยอะแต่ไม่สามารถนำมาแปรรูปและจำหน่ายได้ เป็นวัฏจักรเหมือนพืชทั่วไป แต่เมื่อเรานำโกโก้มาเป็นแบบของภาคเกษตรกรสุราษฎร์ธานีแปรรูปจะช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรราคาสามารถที่จะส่งต่อในเรื่องของคุณภาพไปขายยังต่างประเทศได้อีกด้วย

จากนโยบายของภาครัฐในเรื่องของซอฟพาวเวอร์ เรากำลังจะดูในเรื่องของจี.ไอ.วีถีของเกษตรกร จะสร้างให้โกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่นมีอัตลักษณ์เป็นซอฟเพาเวอร์ใหม่ในระดับชุมชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามการส่งเสริมของภาครัฐได้ต่อไป

นายวินัย กล่อมเมือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้วิภาวดี กล่าวว่า ปัญหาของโกโก้สุราษฎร์เราเคยล้มละลายมาครั้งหนึ่งเมื่อบริษัทมาส่งเสริมให้ปลูกแต่ไม่รับซื้อทำให้เกษตรกรเดือดร้อนจนเลิกปลูกกันไป การปลูกยุคใหม่ตอนนี้จึงมีการปลูกกันน้อยปัญหาของโกโก้ตอนนี้คือเขาปลูกได้แล้วแต่ไม่รู้จะไปขายที่ไหน กลุ่มตอนนี้ถือว่าโชคดีที่มีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมาช่วยส่งเสริมทางด้านงานวิจัย

แต่ปัญหาตอนนี้คงจะเป็นในเรืองของการตลาดมาตรฐานที่เราผลิตยังไม่มีการรับรอง ส่วนใหญ่ที่เรานำไปเสนอเขามักจะถามถึงเรื่องมาตรฐานรองรับ เราจึงต้องพัฒนาต่อแต่ก็ต้องมีการหาแหล่งเงินทุนในการพัฒนามาตรฐานขึ้นมา จึงอยากให้ภาครัฐเปิดล็อคในเรื่องของการหาแหล่งเงินทุนที่ปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยน้อยเกษตรกรก็จะสามารถพัฒนามาตรฐานและยกระดับโกโก้สุราษฎร์ธานีให้ไปสู่ตลาดต่างชาติได้

…………………………………………………………………………………………………………………

ทีมข่าวพลังราษฎร์

 

Ads – Baansuay Group full

About The Author

Related posts